December 17, 2020

เรามาเริ่มจาก e-Tax Invoice  by email

โครงการ e-Tax Invoice by Email เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำขึ้น เพื่อรองรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี โดยเริ่มต้นการใช้งานจาก ผู้ประกอบการยื่คำขอเป็นผู้จัดทำ etax invoice ตามแบบ ก.อ.01 ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.rd.go.th/publish/27659.0.html  เลือก "ยื่นคำขออนุมัติ" ลงทะเบียนกรองรายละเอียดให้ครบถ้วน

หลังจากนั้นจัดเตรียมเอกสาร 3 ชนิด

  1. แบบ ก.อ.01
  2. หนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 6 เดือน
  3. สำเนาบัตรประชาชน ผู้มีอำนาจลงนาม

พิมพ์แบบ ก.อ.01 โดยให้ผู้มีอำนาจลงนามลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตรา แนบพร้อมหนังสือรับรองนิติบุคคลที่อายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมลายเซ็นและตราประทับ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามที่ลงลายมือชื่อในแบบ ก.อ.01 ที่มีการลงนามรับรองเอกสารถูกต้อง และสแกนเอกสารทั้ง 3 ฉบับในรูปแบบไฟล์ PDF  เพื่ออัพโหลดเอกสารยืนยันตัวตนบนหน้าเว็บ หลังจากนั้น ทางระบบกรมสรรพากรจะจัดส่งอีเมล์เข้ามาให้ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ และกดยืนยันที่อยู่ E-mail ภายใน 7 วัน เพื่อเป็นการ active account

วิธีการจัดทำ e-Tax Invoice  by email

  • ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีในรูปแบบ PDF/A3 เท่านั้น (เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2561 เป็นต้นไป)
  • ไฟล์จะต้องไม่เข้ารหัส หรือ password ไว้
  • ขนาดไฟล์ต้องไม่เกิน 3 MB
  • ใบกำกับภาษี 1 ฉบับ ต่อ 1 ไฟล์ เท่านั้น ไม่สามารถรวมเอกสารใน 1 ไฟล์ได้
  • ผู้ประกอบการจะต้องใช้ อีเมลที่ลงทะเบียนไว้กับกรมสรรพากร เป็นผู้ส่งเอกสาร ให้กับผู้ซื้อ และ สำเนาถึง สพธอ (ETDA) (CC Email) ไปที่ “ csemail@etax.teda.th “ เพื่อทำการ Timestamp ลงในเอกสาร
  • หัวข้ออีเมลจะต้องระบุตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
  • เมื่อระบบทำการประทับรับรองเวลาแล้ว (Timestamp) ระบบของ ETDA จะนำส่งใบกำกับภาษีไปยัง ผู้ประกอบการ และ ผู้ซื้อ และถือว่าเป็นใบกำกับภาษีที่ถูกต้องแล้ว

ข้อดี ข้อเสียของ e-Tax Invoice  by email

ข้อดี

  • อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการจัดทำเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิก เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการจัดทำเอกสาร
  • จัดเก็บเอกสารได้ง่าย ค้นหาได้รวดเร็ว จากการจัดเก็บในรูปแบบกระดาษ
  • ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทั่วไป ในการจัดทำและจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นภาษีประจำเดือน
  • สามารถส่งเอกสารผ่าน Email หาลูกค้าได้ทันที
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสาร ETax Invoice  by email

ข้อเสีย

  • ขั้นตอนการจัดทำยังมีความยุ่งยากพอสมควร
  • จะต้องมีทีม IT เพื่อ support การทำงานอยู่หลายส่วน
  • กรณีที่ต้องการทำเอกสาร เพิ่มหนี้ ลดหนี้ จะต้องทำเป็นครั้งต่อครั้ง อาจจะเกิดความสับสนและผิดพลาดได้
  • รองรับเอกสารแค่ 3 ชนิด ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ , ใบเพิ่มหนี้ , ใบลดหนี้ เท่านั้น

ในส่วนของ Etax invoice & e-receipt จะมีความแตกต่างกันดังนี้

เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทําใบกำกับภาษีและใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) ที่มีการจัดทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยให้คํานึงถึงความถูกต้องครบถ้วน ความน่าเชื่อถือ และความมันคงปลอดภัยของระบบงาน และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติว่า และมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ตามเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure : PKI) ซึ่งผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการจะต้องส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทนการรับ-ส่งด้วยกระดาษตามวิธีดั้งเดิมและนําส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดไป ในรูปแบบ XML File ตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จําเป็นต่อธุรกรรมทาอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (เวอร์ชั่น 2.0) สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน)

    Etax invoice & e-receipt จะเป็นระบบที่ใหญ่ขึ้นมา รองรับผู้ประกอบการทุกขนาด และไม่จำกัดรายได้ มีการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรในรูปแบบไฟล์ XML และใช้ digital signature ในการรองรับเอกสาร แทน Timestamp  รองรับเอกสารสรรพากรครอบคลุมหลายประเภท ใบกํากับภาษี/เพิ่มหนี้/ลดหนี้/ใบเสร็จรับเงิน และต้องมีทีม IT เพื่อทำการ เตรียมข้อมูล

และการจัดทำ Etax invoice & e-receipt จะต้องมี 3 ขั้นตอนที่สำคัญ คือการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษา โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่ 3 ขั้นตอนที่ควรรู้ ก่อนทำ eTax Invoice (https://www.etaxgo.com/blog/tax/3-steps-before-implement-etax-invoice/) ใน blog ของเรานี่เอง

    จะเห็นได้ว่า การจัดทำ Etax invoice & e-receipt จะมีความยุ่งยาก ซับซ้อนอยู่พอสมควร และต้องใช้ทีมงาน ทีม IT ที่ต้องเชื่อต่อระบบ ในการส่งอีเมลหาลุกค้า ในการอัพโหลดไฟล์ให้กับกรมสรรพากร แต่ความกังวลเหล่านี้จะหมดไป เพราะที่ Etaxgo เราให้บริการครบทุกขั้นตอนการจัดทำ Etax invoice & e-receipt ติดต่อปรึกษาทีมงานเราได้เลย

    จากด้านบนจะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างอย่างชัดเจน การจะเลือกใช้ระบบใหนอาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัทเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะต้องมองไปถึงประเภทเอกสารที่ต้องจัดทำด้วย จากทั้ง 2 ระบบนี้ ผู้ประกอบการสามารถเลือกการใช้งานได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะใช้ทั้ง 2 ระบบไม่ได้ และเรื่องหนึ่งที่ทุกๆบริษัทให้ความสำคัญคือต้นทุนในการลงทุนระบบที่ถือว่า แบบใหนเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่ากัน ก็ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบการเอง แต่ถ้าเรามองในภาพรวมของเทคโนโลยี โอกาส และต้นทุนแล้ว สิ่งที่ได้รับกลับมาอาจจะเป็นเรื่องการประหยัดต้นทุนต่างๆในการจัดทำเอกสารต่างๆ ไปจนถึงการประหยัดต้นทุนการจัดการในระยะยาว และสิทธิประโยชน์ต่างๆที่เกี่ยวข้องทางภาษีในอนาคต


Tags


บทความที่น่าสนใจ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเอกสาร e-Tax Invoice ของเรานั้นถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร

ในช่วงปีที่ผ่านมา หลายๆองค์กรเริ่มจัดทำระบบ e-Tax Invoice / e-Receipt กันบ้างแล้ว หรือ บางหน่วยงานก็จะได้รับ e-Tax Invoice จากคู่ค้าของบริษัท ทีนี้เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเอกสารที่ระบบจัดทำออกมาหรือได้รับจากคู่ค้านั้นข้อมูลถูกต้องและน่าเชื่อถือได้ ในบทความนี้เราจะมาตรวจสอบกันว่า ไฟล์ e-Tax Invoice ที่เรามีนั้นถูกต้องหรือไม่ถ้าจะพูดถึงความความถูกต้องและน่าเชื่อถือ ก่อนหน้านี้เราคงตรวจสอบได้จากการลงลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจ หรือ ประทับตราบริษัท แต่พอเป็น e-Tax Invoice นั้นเราไม่ได้มีเอกสารเป็นกระดาษแล้วไปลงลายมือชื่อเหมือนเดิม แต่เราก็ยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนี้ได้จาก ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่ตรวจสอบได้ง่าย รายละเอียดครบถ้วน และ มีความปลอดภัยของข้อมูลสูงในส่วนของ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) นอกจากนำมาทดแทนการลงลายมือชื่อด้วยปากกาแบบเดิมนั้น ยังมีหน้าที่ ในการยืนยันตัวตนของผู้จัดทำเอกสาร ความถูกต้องครบถ้วน และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้รับ ว่ามีความถูกต้องครบถ้วนและไม่ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หากใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการสามารถปฎิเสธการรับไฟล์เอกสารดังกล่าวได้ขั้นตอนการตรวจสอบลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้1. ตรวจสอบจากแถบแสดงสถานะลายมือชื่อดิจิทัล กับโปรแกรม Adobe Acrobat

Read More

3 ข้อคลายความกังวล ในการใช้ระบบ e-Tax Invoice & Receipt

บริการ Etaxgo คือบริการจัดทำ จัดเก็บ และนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนึ่งในโครงการ National e-Payment เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ลดต้นทุน ลดระยะเวลา และลดขั้นตอนของภาคเอกชน ซึ่ง ณ วันนี้ ยังไม่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการ แต่ก็มีหลากหลายองค์กรที่หันมาใช้ระบบ e-Tax ก่อนการบังคับใช้ เพราะเล็งเห็นถึงประโยชน์มากมาย แต่ก็มีหลายองค์กรยังกังวลในการใช้งานอยู่ ใบบทความนี้เรามี ข้อมูลสั้นๆ 3 ข้อ ที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น1. เชื่อมต่อระบบได้ทันที ไม่กระทบระบบเดิมที่ใช้อยู่หลายคนอาจจะคิดว่ายุ่งยากหากต้องมีการเพิ่มระบบใหม่เข้ามาภายในระบบเดิมที่ใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบ ERP หรือ ระบบบัญชีของค่ายไหนก็ตาม แต่จริง ๆ แล้ว หากจะใช้งานระบบ e-Tax นั้น สามารถเชื่อมต่อได้เลย ผ่าน API หรือ CSV ตามที่หน้างานสะดวก หลากหลายช่องทางการนำส่งไฟล์ ทั้งแบบ email และ sms พร้อมทั้งเก็บไฟล์ทุกอย่างไว้บน DOCONE เป็น Private cloud ของ

Read More

Service provider Etax คืออะไร

Service provider หรือ ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ e-Tax invoice และ e-Receipt และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่อง การจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอีเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวคือ เป็นผู้ดำเนินการ จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาไฟล์เอกสาร etax แทนผู้ประกอบการ โดยจะต้องผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กรมสรรพากรและสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) หรือ ETDA กำหนดอย่างเคร่งคัดService provider ยังเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีความสนใจในการใช้งาน etax ให้สามารถใช้งานได้ง่าย มีความถูกต้องการในการจัดทำไฟล์เอกสาร รวมถึงปลอดภัยของข้อมูลที่ถูกจัดทำและจัดเก็บตามมาตรฐานการรับรอง ISO27001 ในส่วนการรับรองระบบสารสนเทศของผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Objectives) ได้แก่ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของส่วนเชื่อมต่อ (Interface Security) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของซอฟต์แวร์ (Software Security) และการทำงานร่วมกันและการโอนย้ายบริการ(Interoperability and Portability) เพิ่มเติมเข้ามาจากมาตรฐาน ISO27001: 2013 เพื่อให้มีการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังต้องผ่านเงื่อนไขรับรองตาม

Read More

รับคำปรึกษาฟรี เพียงแค่กรอข้อมูล

ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ เรามี Solution ที่พร้อมตอบสนองทุกความต้องการ ในทุกๆธุรกิจของคุณ